เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 Topic: "การหาร และความสัมพันธ์ระหว่างการคูณและการหาร"
เป้าหมาย(Understanding Goal) : นักเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการหาร เกิดความรู้สึกเชิงจำนวนสามารถหาวิธีการคิดที่เหมาะสมกับตนเอง เห็นความสัมพันธ์ของการคูณและการหาร และยังเห็นความสัมพันธ์ของที่มาของตัวเลขแต่ละตัวโดยการเชื่อมโยงเข้ากับสาระการเรียนรู้อื่นๆ อีกทั้งสามารถแก้ปัญหาและให้เหตุผลเกี่ยวกับกระบวนการคิด และสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างสมเหตุสมผล แล้วนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตนเองได้

week5



บันทึกหลังการสอนสัปดาห์ที่ 5



               สัปดาห์นี้พี่ๆ หลายคนอยากเรียนเรื่องหารยาว ในสัปดาห์นี้คุณครูเพิ่มเติมเรื่องหารยาว ทั้งในรูปแบบการกระจายและไม่กระจายให้กับพี่ๆ ชั้นป.3 โดยคุณครูมีวิธีการคิดให้สามวิธีได้แก่ แบบแบ่งกล่อง, หารยาวแบบกระจาย, หารยาวแบบไม่กระจายแล้วแต่ให้พี่ๆ เลือกใช้วิธีการคิดที่ตนเองเข้าใจค่ะ  
               วันจันทร์ -วันอังคาร  คุณครูสร้างโจทย์ปัญหาการหาร แล้วพี่ๆ แลกเปลี่ยนการได้มาของคำตอบ คุณครูและพี่ๆ ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการได้มาของคำตอบพร้อมแสดงวิธีการคิดในรูปแบบการแบ่งเป็นกล่อง หลังจากนั้นคุณครูกระตุ้นด้วยคำถาม “คนไหนคิดต่าง” จากคำทำให้เกิดกระบวนการคิดเพิ่มมาอีก 3 วิธี ได้แก่
1.             การคูณเพื่อหาคำตอบ
2.             การแบ่งกล่อง
3.             การหารยาวแบบกระจาย
4.             การหารยาวแบบไม่กระจาย
หลังจากนั้นคุณครูให้พี่สร้างโจทย์การหารด้วยตนเองและแสดงวิธีการคิด เลือกคิดวิธีใดวิธีหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งก็ได้ ทุกคนภูมิใจและทำงานเสร็จทันเวลายอดเยี่ยมมากค่ะ

            วันพุธ - วันพฤหัสบดี    สองวันนี้คุณครูให้กระบวนการที่คล้ายๆ กับวันอังคาร และเพื่อให้พี่ๆ เห็นความสัมพันธ์ของตัวเลข เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการหารและการคูณคุณครูเพิ่มเติมการคิดกลับเข้าด้วย (ตรวจคำตอบ) หลายคนมองเห็นความสัมพันธ์อีกบางส่วนต้องคอยกระตุ้นด้วยโจทย์ปัญหาค่ะ
* ทั้งนี้คุณครูให้งานตามศักยภาพของพี่ๆ แต่ละคนค่ะ



หมายเหตุ**  โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ออกแบบการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศาสตร์เป็น 2 ส่วนคือ 
                      วิชาคณิตศาสตร์ เรียน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์  ได้ชั่วโมงเรียน  160 ชั่วโมง  (วันจันทร์ – วันพฤหัสบดี) 
                      วิชาการคิด    เรียน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์       ได้ชั่วโมงเรียน  40  ชั่วโมง   (วันศุกร์)  
ดังนั้น            รวมชั่วโมงเรียนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้งสิ้น   200   ชั่วโมง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น